การจัดการความรู้
แนวปฏิบัติในการดำเนินงาน
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ ปัญหา และอุปสรรคที่มี เกี่ยวกับการติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ โดย สำนักแผนและพัฒนา ร่วมกับ สำนักคลังและงบประมาณ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ช่องทางการเผยแพร่: https://pd.neu.ac.th
แนวปฏิบัติในการถ่ายทอดแผนพัฒนาความเป็นเลิศและแผนพัฒนากำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2567 – 2571 สู่แผนปฏิบัติการประจำปี
1.ถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ จากแผนพัฒนาความเป็นเลิศและแผนพัฒนากำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2567 – 2571
– ประเด็นยุทธศาสตร์
– ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
2.ถ่ายทอดสู่แผนปฏิบัติการประจำปี (ถ่ายทอดสู่การปฏิบัติงานของบุคคล)
– จัดทำคำรับรองและประเมินผลการปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัย (IPA: Internal Performance Agreement)
– ถ่ายทอดตัวชี้วัดที่รับผิดชอบตามความรับผิดชอบของรองอธิการบดีในแต่ละตำแหน่ง
– รองอธิการบดีในแต่ละตำแหน่งถ่ายทอดตัวชี้วัดที่รับผิดชอบให้คณบดี/ผู้อำนวยการ ในคณะ/สำนัก/ศูนย์ ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล (ตามโครงสร้างการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัย)
– คณบดี/ผู้อำนวยการ ถ่ายทอดตัวชี้วัดที่รับผิดชอบ
o คณบดีถ่ายทอดตัวชี้วัดที่รับผิดชอบให้สาขาวิชา/หลักสูตร
หัวหน้าสาขาวิชา/ประธานหลักสูตรถ่ายทอดตัวชี้วัดที่รับผิดชอบให้กับอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อดำเนินการจัดทำโครงการ/กิจกรรมในแผนปฏิบัติการประจำปี
o ผู้อำนวยการถ่ายทอดตัวชี้วัดที่รับผิดชอบให้กับบุคลากรในสังกัดเพื่อดำเนินการจัดทำโครงการ/กิจกรรมในแผนปฏิบัติการประจำปี
รูปที่ 1 ขั้นตอนแนวปฏิบัติในการถ่ายทอดแผนพัฒนาความเป็นเลิศและแผนพัฒนากำลังคนระดับสูงเฉพาะทาง
ตามความต้องการของประเทศ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2567 – 2571
สู่แผนปฏิบัติการประจำปี
แนวปฏิบัติในการดำเนินงานและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม
1) หน่วยงานต่าง ๆ จัดทำแบบเสนอโครงการ/กิจกรรม ตามแบบฟอร์ม AP.03 แบบฟอร์มเสนอขออนุมัติดำเนินการโครงการ/กิจกรรม
2) ส่งแบบฟอร์ม AP.03 แบบฟอร์มเสนอขออนุมัติดำเนินการโครงการ-กิจกรรม ไปยังสำนักอธิการบดี
3) สำนักอธิการบดี ส่งแบบฟอร์ม AP.03 แบบฟอร์มเสนอขออนุมัติดำเนินการโครงการ/กิจกรรม ไปยังสำนักแผนและพัฒนา
4) สำนักแผนและพัฒนา ตรวจสอบตามแผนปฏิบัติการประจำปีของแต่ละหน่วยงาน และตรวจสอบรายละเอียดค่าใช้จ่าย
– ถ้าโครงการ/กิจกรรมดังกล่าวไม่อยู่ในแผนปฏิบัติการประจำปี หรือ อยู่ในแผนปฏิบัติการประจำปีแต่ต้องมีการแก้ไขข้อมูล สำนักแผนและพัฒนาจะส่งกลับไปยังหน่วยงานให้แก้ไขแล้วส่งกลับมายังสำนักแผนและพัฒนาอีกครั้ง
– ถ้าโครงการ/กิจกรรมดังกล่าวอยู่ในแผนปฏิบัติการประจำปี และไม่มีการแก้ไขข้อมูล สำนักแผนและพัฒนาจะส่งแบบฟอร์ม AP.03 แบบฟอร์มเสนอขออนุมัติดำเนินการโครงการ/กิจกรรม ดังกล่าวไปที่รองอธิการบดีเพื่อพิจารณาโครงการ/กิจกรรม
5) รองอธิการบดี พิจารณาโครงการ/กิจกรรม ตามแบบฟอร์ม AP.03 แบบฟอร์มเสนอขออนุมัติดำเนินการโครงการ/กิจกรรม
– ถ้าผ่านการพิจารณา จะส่งไปสำนักอธิการบดีเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ/กิจกรรมต่ออธิการบดี
– ถ้าไม่ผ่านการพิจารณา จะส่งกลับมายังสำนักแผนและพัฒนา เพื่อส่งคืนหน่วยงาน
6) อธิการบดี พิจารณาอนุมัติโครงการ/กิจกรรม ตามแบบฟอร์ม AP.03 แบบฟอร์มเสนอขออนุมัติดำเนินการโครงการ/กิจกรรม ที่ผ่านการพิจารณามาจากรองอธิการบดี
– ถ้าผ่านการอนุมัติ จะส่งกลับไปยังสำนักแผนและพัฒนา เพื่อส่งคืนหน่วยงานให้ดำเนินการต่อไป
– ถ้าไม่ผ่านการอนุมัติ จะส่งกลับไปยังสำนักแผนและพัฒนา เพื่อส่งคืนหน่วยงาน
7) โครงการที่ผ่านการอนุมัติ หน่วยงานต่าง ๆ จะต้องดำเนินงานตามแผนงานที่เสนอมาตามแบบฟอร์ม AP.03 แบบฟอร์มเสนอขออนุมัติดำเนินการโครงการ/กิจกรรม เมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้นจะต้องดำเนินการต่อไปดังนี้
– จะต้องทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามแบบฟอร์ม AP.04 แบบฟอร์มสรุปผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม และนำส่งสำนักแผนและพัฒนา ภายใน 15 วัน หลังสิ้นสุดโครงการ/กิจกรรม
8) และจะต้องดำเนินการเคลียร์ค่าใช้จ่ายกับสำนักคลังและงบประมาณ ภายใน 15 หลังสิ้นสุดโครงการ/กิจกรรม ตามแบบฟอร์มที่สำนักคลังและงบประมาณกำหนด
รูปที่ 2 ขั้นตอนแนวปฏิบัติในการในการดำเนินงานและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม